:D ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู้เวปบล็อก"ครูตั๊ก"ด้วยความยินดีคะ (*0*)

โครงการสอนวิชาภาษาและเทคโนโลยี

รหัสวิชาGD ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู 3 (1-2-3)ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552อาจารย์ผู้สอน ผศ.วิวรรธน์ จันทร์เทพย์โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง****************************************************
คำอธิบายรายวิชา (เนื้อหา)ศึกษาและฝึกทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ท และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเป็นเครื่องมือสื่อสารและสืบค้นทั้งภาษาไทยและต่างประเทศ ทั้งในด้านการฟัง การพูด การอ่านและการเขียน เพื่อการสื่อความหมาย โดยเน้นกระบวนการ ทักษะสัมพันธ์ทางภาษา ตลอดจนศึกษาและฝึกการตีความ การขยายความ การสรุปความ การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล รวมทั้งการนำเสนองานทางวิชาการหัวข้อที่จะเรียนกันจุดประสงค์
.........เมื่อผู้เรียนศึกษาเนื้อหาและกิจกรรมเสร็จสิ้นแล้วจะมีพฤติกรรมและความสามารถดังต่อไปนี้
.........1. อธิบายความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้สำหรับครูได้
.........2. อธิบายและปฏิบัติการเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ต สำหรับครูได้
.........3. สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสืบค้นข้อมูลทางการศึกษาเนื้อหา
........หน่วยที่ 1
........เทคโนโลยีพื้นเพื่อการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้สำหรับครู
........หน่วยที่ 2
........คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา
........หน่วยที่ 3
........อินเตอร์เน็ตเพื่อการศึกษาและสืบค้น
........หน่วยที่ 4
........เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารและสืบค้นข้อมูล
........หน่วยที่ 5
........ฝึกปฏิบัติการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารและสืบค้นข้อมูล

โสตทัศนูปกณ์

โสตทัศนูปกรณ์

งานส่ง ป.บัณฑิต รุ่นที่12

........ป.บัณฑิตวิชาชีพครูรุ่น12 ภาคเรียนที่ 1/2552 จำนวน 94 คน กำลังเรียนวิชาภาษาและเทคโนโลยีเพื่อการสืบค้น นักศึกษาสามารถใช้ภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ และเทคโนโลยีเพื่อการสืบค้นและการแสวงหาความรู้ตลอดระยะเวลาเรียนและรวมถึงการนำไปประยุกต์ใช้กับงานประจำและชีวิตจริงของแต่ละคน
.......การเรียนวิชานี้นักศึกษาต้องเตรียมตัวมาก่อนในบางเรื่อง ได้แก่ การสมัคร Gmail เพื่อการสมัครใช้งานในการสร้างเว็บบล็อก (weblog) เพราะนักศึกษาทุกคนต้องใช้เว้บบล็อกเป็นเครื่องสำคัญในการบันทึกข้อมูลความรู้ต่าง ๆ ที่เรียนในวิชานี้ นอกจากนี้ยังรวมถึงงานที่ได้รับมอบหมายจากผู้สอน ซึ่งผู้สอนสามารถตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้เรียนได้ตลอดเวลา
........ดังนั้นผู้เรียนแต่ละคนต้องสร้างเว็บบล็อกของตนเอง ซึ่งในเว็บบล็อกต้องประกอบไปด้วยส่งต่อไปนี้
......1. การแนะนำเว็บบล็อก
......2. แผนการสอน
......3. เนื้อหาบทเรียนโดยย่อ ทุกบท
......4. การลิงค์เนื้อหาโดยละเอียดทุกบท
......5. การตกแต่งเว็บบล็อกด้วยองค์ประกอบต่อไปนี้
...........5.1 สไลด์
...........5.2 ภาพเคลื่อนไหว
...........5.3 นาฬิกา
...........5.4 ตัวเลขนับจำนวนผู้เข้าชม
...........5.5 การตกแต่งหัวเว็บบล็อกด้วย ภาพจากโฟโต้ช็อบ
.......6. การแสดงความคิดเห็นจากผู้ชมอย่างน้อย 3 ความคิดเห็น

"me"

Introduce

***สวัสดีคะ ยินดีต้อนรับนะคะ***
### welcome to my blogger###
+++ nice to meet you every body+++
วันนี้เราได้มาเรียนทำ blog กันคะ ตื้นเต้ามากเลย
เพราะเราเป็นกลุ่ม 20 คนแรกที่ได้มาเรียนกับอาจารย์ (^0^)
โดยความตั้งใจของอาจารย์ ท่านต้องการให้เรามีไว้เพื่อ
ใช้เกี่ยวกับการศึกษาคะ
แต่วันนี้เราก็มาเข้าเรียนช้าไปหน่อยอะ
เกิดข้อผิดพลาดทางเทคนิค นิดหน่อย
เพราะเรามัวแต่เดินหลงหาห้องกันอยู่นะสิคะ
แต่ไม่เป็นไร เนอะปลอบใจตัวเอง ;)
โดยปกติเราก็รู้จักการทำ hi5 มาบางแล้ว
และคิดว่าพื้นฐานที่มีคงช่วยเราในการจัดทำรูปแบบการตกแต่งได้บาง
ยังไงก็จะพยายามสู้ต่อไปเนอะ (*v*)
ยังไงซะก็ต้องสวยแหละ 555++

ว่าแต่ว่าพุ่งนี้เราจะช่วยอาจารย์สอนเพื่อนๆได้ไหมนะ อิอิ

(*v*) PhUkEt(*v*)

ทำอย่างไรดี เมื่อเด็กสมาธิสั้น

หากลูกน้อยของคุณ! มีพฤติกรรมดังนี้ มากกว่า 1 อย่างขึ้นไป เช่น ไม่ใส่ใจรายละเอียด เวลาทำการบ้าน

การเรียน หรือทำกิจกรรมต่างๆ ทำผิดบ่อยครั้ง ไม่ค่อยระวัง เล่น

และทำกิจกรรมกับเพื่อนไม่ได้นาน ยกเว้นกิจกรรมที่ชอบผนวกกับทำงานไม่เสร็จ

ผลงานไม่เรียบร้อย (ลายมือไม่สวย สักแต่ว่าเขียนให้เสร็จ) ตกหล่นอยู่ตลอดเวลา

ไม่ชอบฟังเวลาคนอื่นพูดด้วย เก็บรายละเอียดไม่ได้ดี ขี้ลืม ทำของหายบ่อย

เช่น ดินสอ ตุ๊กตา สมุด วอกแวกตามสิ่งเร้าภายนอกง่าย คิดจะข้ามถนน ก็ขามเลย

ไม่สนใจใคร เป็นต้นให้คิดซะว่า นี่คือสัญญาณเตือนภัย ว่าลูกของคุณอาจกำลังอยู่

ในภาวะของ "เด็กสมาธิสั้น" แต่ไม่ต้องกังวล เพราะวันนี้ทางทีมงานมีวิธีการดูแล/เลี้ยงดูลูก

มาฝากกันครับจากข้อมูลเบื้องต้น ทางทีมงานได้รับข้อมูลเพิ่มเติมจาก "อาจารย์กุลยา ก่อสุวรรณ"

ประธานศูนย์พัฒนาศักยภาพเด็ก (RICS) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร (มศว)

ว่า "ภาวะสมาธิสั้น" หรือ Attention Deficit Hyperactivity Disorder

(ADHD) เป็นความผิดปกติของพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมกับวัย เกิดขึ้นตั้งแต่วัยเด็ก

(ก่อนอายุ 7 ขวบ)ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของสมองที่มีผลกระทบต่อพฤติกรรม อารมณ์ การเรียน และ

การเข้าสังคมกับผู้อื่นยกตัวอย่างเช่น การที่เด็กไม่มีสมาธิในการทำงาน หรือการเล่น วอกแวกง่าย

ขี้ลืมบ่อยๆ ในงานที่ต้องทำเป็นกิจวัตรประจำวัน มักลุกจากที่ในห้องเรียน ไม่สามารถเล่น

เสียงเบาได้ มักเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา หยุกหยิกอยู่ไม่เป็นสุขเหมือนมีเครื่องยนต์ติดตัว

อีกทั้งยังชอบขัดจังหวะ สอดแทรกเวลาผู้อื่นคุยกัน หรือแย่งเพื่อนเล่น ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าว

คล้ายกับเด็กที่ไม่มีมารยาท และไม่รู้จักกาลเทศะอย่างไรก็ตาม ลักษณะทั้ง 3 ด้าน อาจารย์บอกว่า

สามารถเกิดขึ้นกับใครก็ได้ ไม่จำกัดพื้นฐานทางสังคม ทุกเพศ ทุกวัย ซึ่งเด็กแต่ละคนอาจ

มีลักษณะครบทั้ง 3 ด้าน หรืออาจมีลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่เด่นออกมา หรืออาจมี

ลักษณะเด่นรวมกัน 1-2 อาการก็ได้ สำหรับอาการที่ปรากฏ คุณพ่อ คุณแม่อาจสังเกตได้

2 สถานที่หลัก คือ บ้าน และที่โรงเรียนสำหรับ สาเหตุของการเกิด "ภาวะสมาธิสั้น"

ยังไม่มีข้อมูลแน่ชัด ซึ่งจากการวิจัยพบว่า ภาวะสมาธิสั้น มีปริมาณสารเคมีบางชนิดในสมอง

น้อยกว่าเด็กปกติ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ ประกอบกัน เช่น ปัจจัยทางพันธุกรรม

ถ้าหากลูกคนหนึ่งมีภาวะสมาธิสั้น พี่น้องคนอื่นๆ จะมีโอกาสสูงถึง 5 เท่าแต่สำหรับใน

เด็กฝาแฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียวกัน โอกาสที่จะเป็นสูงถึงร้อยละ 51 ส่วนในฝาแฝดที่เกิดจาก

ไข่คนละใบ เมื่อแฝดคนหนึ่งมีภาวะสมาธิสั้น อีกคนจะมีโอกาสถึงร้อยละ 33 แต่ก็อาจจะ

ไม่ใช่ทั้งหมด รวมถึงปัจจัยทางชีวภาพ เช่น เป็นโรคลมชัก โรคขาดสารอาหาร

(โดยเฉพาะโปรตีน) เด็กที่คลอดก่อนกำหนด โรคสมองอักเสบ เป็นต้น"

นอกจากนี้การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมของคุณพ่อ คุณแม่ หรือคนเลี้ยงเด็ก

ส่งผลให้เด็กเกิดภาวะสมาธิสั้นได้เช่นกัน เมื่อเทียบกับปัจจัยทางด้านอื่นๆ เช่น

ไม่ปลูกฝังวินัยในการเลี้ยงลูก ไม่สนใจเด็ก หรือบางครอบครัว ถ้าพ่อแม่ต้องไปทำงานข้างนอก

ก็ปล่อยให้ลูกอยู่บ้านคนเดียว ซึ่งจุดนี้ เด็กมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะนี้ได้เช่นกัน"

อาจารย์กุลยา กล่าวอย่างไรก็ดี ถ้าคุณพ่อ คุณพ่อ รู้ว่าลูกมีภาวะของเด็ก "สมาธิสั้น"

ผู้ปกครอง และคุณครู มีวิธีการดูแลเด็กดังนี้

1. ควรมีตารางเวลาที่แน่นอน เด็กเหล่านี้จะ
ยิ่งสมาธิสั้น ถ้าหากปล่อยปละละเลย ไม่มีตารางเวลาหรือ กฎเกณฑ์ที่แน่นอน

2. การสะสมคะแนนแลกของรางวัล เป็นส่วนช่วยในการควบคุมพฤติกรรมเด็กที่มีภาวะสมาธิสั้นตอบสนองดีต่อการให้แรงจูงใจ และรางวัล มักชอบท้าทาย

3. จัดหาสถานที่ที่เหมาะสมในการทำการบ้าน หรือทบทวน อาจเป็นมุม หรือห้องสงบ ไม่มีเสียงรบกวน ไม่พลุกพล่าน ลดสิ่งเร้าจากเสียง ของเล่นที่ดึงความสนใจจากเด็ก

4. มีมาตรการลงโทษที่ชัดเจน เมื่อเด็กทำผิด เช่น การตัดคะแนน งดเวลาพัก หรือทำเวร ไม่ควรตี

5. กำหนดขอบเขต และข้อจำกัด โดยวิธีละมุนละม่อม และควรทำอย่างสม่ำเสมอทุกครั้งทันท่วงที

6. ควรมีบันทึกจากบ้าน โรงเรียนทุกวัน เพื่อช่วยให้ครู และผู้ปกครองสามารถสื่อสารได้อย่างเข้าใจ และช่วยให้เด็กได้รับสิ่งที่ต้องการกระนั้นก็ตาม สัมพันธภาพภายในครอบครัว คือการเยียวยาให้เด็กเกิดพัฒนาการ และมีทักษะได้ดีที่สุด พ่อแม่ไม่ควรปล่อยให้ลูกเล่นกับโทรทัศน์ โทรศัพท์ หรืออินเทอร์เน็ทอยู่

กับบ้านเพียงลำพัง แต่พ่อแม่ต้องเป็นเพื่อนรักของลูก และดูแลลูกอย่างใกล้ชิดเปรียบได้กับคนทำสวน ที่รดน้ำ พรวนดิน ใส่ปุ๋ยให้กับต้นไม้อยู่สม่ำเสมอฉันใด ต้นไม้น้อย ก็จะมีฐานรากที่มั่นคง และสูงสง่ากลายเป็นต้นไม้ใหญ่ แตกกร้านกิ่งใบอย่างสมบูรณ์ต่อไปฉันนั้น

อ้างอิง : http://www.saranair.com/article.php?sid=17612

วันอาทิตย์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2552